วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บ้าแชต เหมือน ติดยา


บ้าแชต" เหมือน "ติดยา" (ไทยโพสต์)

จิตแพทย์ชี้ ติด "แชตมือถือ" หนักๆ ก็เหมือนคนติดยาเสพติด ส่งผลกระทบจิตใจ เสียสุขภาพ สมาธิสั้น เตือนพ่อแม่ระวังเด็กใช้มากเกิน

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สำนักสุขภาพจิตสังคม กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีของคนในสังคมปัจจุบันนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ใช้ในระดับปกติ และใช้เกินปกติ แต่ผลทางด้านจิตใจทางการแพทย์ถือว่า อาการติดโทรศัพท์มือถือที่กำลังฮิตในหมู่ดาราไฮโซ เซเลบริตี้ และกำลังเริ่มฮิตในกลุ่มวัยรุ่นขณะนี้ เป็นอาการเดียวกับการติดอินเทอร์เน็ตหรือติดสารเสพติด เรียกว่า โรค "Addiction" หรือ "การติดเป็นนิสัย" คือใช้เทคโนโลยีจนเกินไป หมกมุ่นมากไป ถ้าไม่ได้ใช้แล้วห่วงหา ซึ่งมีส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจในเชิงลบ เหมือนการเสพติดอย่างหนึ่ง

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การใช้บีบีเป็นวิธีการสื่อสารแบบการส่งข้อความ SMS ซึ่งสะดวกกว่าการใช้คอมพิวเตอร์พูดคุยหรือที่เรียกว่าแช้ต (Chat ) ผ่านระบบเอ็มเอสเอ็น (MSN) ซึ่งต้องทำเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่การใช้โทรศัพท์มือถือจะสามารถทำได้ทุกสถานที่ทุกเวลา

นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีลักษณะนี้มากเกินไปจะทำให้ความเป็นส่วนตัวน้อยลง ไม่ได้อยู่กับตัวเอง หรือมีสมาธิกับการทำงานน้อยลง และเกิดความคาดหวังแบบอุปโลกน์ ซึ่งผู้ใช้ต้องระมัดระวังการใช้ ควรใช้ให้พอเหมาะและมีขอบเขต ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลกระทบ คือ

1.มีผลต่อสุขภาพ กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง

2.สูญเสียสัมพันธภาพของคนใกล้ตัวเพราะมัวแต่แช้ตผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่ได้คุยกับพ่อแม่ แฟน ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมงาน หรือถ้าส่งข้อความไป แต่อีกฝ่ายไม่ตอบกลับก็เกิดอาการคาดหวังที่มีกันมาก คือ ความคาดหวังแบบอุปโลกน์ และอาจเป็นการรบกวนความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว

และ 3.กระทบต่อหน้าที่การงาน ไม่มีสมาธิตั้งใจทำงานเท่าเดิม

"จากข้อมูลที่มีการสำรวจพบว่าวัยรุ่น รร.ระดับมัธยมของรัฐแห่งหนึ่ง พบว่า ร้อยละ 90 เด็กใน รร.มีโทรศัพท์มือถือใช้ แต่เทคโนโลยีก้าวหน้าพ่อแม่ยิ่งต้องรู้ให้เท่าทัน ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่รู้ว่าเด็กคิดอะไรอยู่ และเด็กไทยจะสมาธิสั้นมากขึ้น"


อ้างอิงไทยโพสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น